ทนายภูวงษ์ โพธิ์ไทร ประธานเครือข่ายทนายความ

ทนายภูวงษ์ โพธิ์ไทร ประธานเครือข่ายทนายความ

เปิดหน้าต่อไป

ทนายเตือนภัย

ทนายภูวงษ์ โพธิ์ไทร

ทนายภูวงษ์ โพธิ์ไทร

ผมทนายภูวงษ์ โพธิ์ไทร ประธานเครือข่าย ผมเอาภัยสังคม ภัยออนไลน์มาเตือนภัย และเอาเรื่องที่ประชาชน โทรเข้ามาปรึษามาแนะนำครับ

ทนายเตือนภัย เรื่อง 

  • ทั่วไป
  • คดีอาญา
  • คดีมรดก
  • คดีแรงงาน
  • คดีที่ดิน
  • คดีผิดสัญญา
  • คดีมรดก
  • คดีจราจร


เรื่องทั่วไป

  1. ปลอมหรือหลอกว่าเป็นตำรวจ
  2. ขับรถขวางรถฉุกเฉิน สังคมรังเกียจ และมีโทษทางอาญาด้วย
  3. ขับรถชนคนตาย ทำอย่างไรไม่ติดคุก
  4. ออกหมายจับต้องมีเหตุผล
  5. ทวงหนี้ ผิดคน ผิดเวลา มีโทษทางอาญาครับ
  6. ชักชวน ผู้เยาว์ ระวังคุก
  7. เงินในบัญชีธนาคารหาย ใครรับผิดชอบ
  8. ปลอมบัตรประชาชน ปลอมเอกสารต่างๆ มีโทษทางอาญาครับ
  9. ไม้หวงห้าม ใครครอบครองระวังมีโทษทางอาญา
  10. ผู้คำ้ประกันต้องรู้
  11. เข้าป่าเก็บเห็ด ทำไมต้องจับด้วย
  12. คนดื่ม ไม่ได้ขับ ถูกจับได้เหมือนกัน
  13. ประกันภัย - ชีวิต อย่าคิดสั้น
  14. ขับรถระวังคน ข้ามถนนระวังรถ 
  15. บุหรี่ ไม่ได้มีไว้ให้แจก เป็นความผิดทางอาญาครับ
  16. เป่าก็ผิด ไม่ยอมเป่าก็ผิด
  17. เป็นเจ้าหนี้ไม่อยากโดนเบี้ยว ทำไงดี
  18. จับผมทำไม แค่เปิดเพลงในร้าน
  19. ถูกทวงหนี้ยามวิกาล
  20. ทัวร์ผี ผิดกฎหมาย
  21. ขายฉลากกินแบ่งเกินราคา
  22. เรียกดอกเบี้ยเกิน 15 ต่อปี มีโทษทางอาญาอะไร

ขอบคุณข้อมูลดีๆมีสาระจากเพจรู้หมดกฎหมาย 

www.สู้คดี.com 

คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445 

คุยกับทนายภูวงษ์: 081 803 8097

แชทกับทนายภูวงษ์: https://bit.ly/lawyerpoovong

01. เรื่องปลอม หรือหลอกว่าเป็นตำรวจ

     “คนมีสี ดูยังไงก็เท่ห์” ความคิดแบบนี้ได้ครอบงำบางท่านจนนำไปสู่การแอบอ้างแสดงตนว่า   เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

     ทั้งนี้ จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2527 เคยตัดสินว่า จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แต่แต่งกายดังที่เจ้าพนักงานตำรวจนอกเครื่องแบบแต่งกันตามปกติ โดยนุ่งกางเกงสีกากี สวมเสื้อคอกลมขาว คาดเข็มขัดหนัง ยืนให้สัญญาณรถยนต์บรรทุกที่ผ่านไปมาให้หยุดรถ เพื่อตรวจตรงจุดที่รถยนต์ตำรวจทางหลวงจอดอยู่เป็นประจำ อันทำให้บุคคลทั่วไปอาจเข้าใจได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ในการเรียกตรวจรถแต่ละครั้งจำเลยแสดงให้เป็นที่เข้าใจได้ว่า ได้รับเงินจากพวกคนขับรถยนต์บรรทุกพฤติการณ์ของจำเลยฟังได้ว่า จำเลยแสดงตน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวง จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

********************************************

02. เรื่อง ขับรถขวางรถฉุกเฉิน สังคมรังเกียจ และมีโทษทางอาญาด้วย

การขับขี่รถบนถนน แม้ว่าทุกคนจะเร่งรีบเพื่อเดินทางไปให้ถึงจุดหมาย ปลายทางให้เร็วที่สุด แต่ว่าก็ต้องมีน้ำใจให้กันด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเห็น รถพยาบาลหรือรถมูลนิธิหรือรถฉุกเฉินอื่นๆ ที่กำลังไปช่วยคนบาดเจ็บ หรือนำผู้ป่วยหนักไปโรงพยาบาล และให้สัญญาณขอทาง เราทุกคนก็ควรเปิด เส้นทางให้โดยชิดรถยนต์เข้าไปที่ขอบถนนด้านซ้ายหรือไปในช่องรถประจำทาง เพื่อให้รถฉุกเฉินนั้นผ่านไปเสียก่อน แต่หากผู้ขับรถยนต์เห็นแก่ตัว ยังไม่ยอมเปิดทางให้กับรถฉุกเฉินก็จะมีความผิด ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 76 และต้องรับโทษตามมาตรา 148 ปรับไม่เกิน 500 บาท นอกจากนี้ก็ยังจะโดนคนเขารังเกียจ บางครั้ง อาจจะโดนถึงขั้นถ่ายคลิปเอาไปประจานกันในโลก Social Network กันเลยทีเดียว มีน้ำใจสักนิด เพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น นอกจากไม่ผิดกฎหมายแล้วยังได้กุศลแรง อีกด้วย

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

****************************************

03. เรื่อง ขับรถชนคนตาย ทำอย่างไรไม่ติดคุก

          จากประสบการณ์การทำงานในวิชาชีพทนายความเกินกว่า 30 ปี ทำคดีมาหลากหลายประเภท ทั้งคดีแพ่งและอาญามีคดีอาญาเกี่ยวกับการกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้คนอื่นเสียชีวิต ถ้าเป็นเจตนาฆ่า โทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต แต่สำหรับการขับรถชนคนตายโดยประมาท มีโทษจำคุกเช่นกัน ทำอย่างไรถึงจะไม่ติดคุก จากประสบการ์ณพอจะแนะนำได้ว่า ถ้าเป็นอุบัติเหตุทางรถยนต์ ให้คุณพานำส่งโรงพยาบาลทันที รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเมื่อมีการเสียชีวิตก็ต้องไปงานศพ เพื่อแสดงความเสียใจ ช่วยค่างานศพ (มีภาพถ่ายไปร่วมงานศพจะดีที่สุด) จากนั้นก็จะเป็นการเยี่ยวยาความเสียหายหรือความตาย ดูแลครอบครัวของคนตายให้เป็นที่พอใจ วันขึ้นศาลรับสารภาพและให้ญาติผู้ตายไปแถลงศาลว่าได้รับการเยียวยาแล้ว ไม่ติดใจเอาความกับจำเลย ถ้าทำเป็นลายลักษณ์อักษรยิ่งดีครับศาลก็จะมีคำพิพากษาลงโทษจำคุก โทษจำคุกให้รอลงอาญา 1-2 ปี แค่นี้คุณก็รอดคุกครับ (อย่าหนี ต้องช่วยเหลือผู้ประสพอุบัติเหตุครับ)

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

*****************************************

04.เรื่อง ออกหมายจับต้องมีเหตุผล

           แม้ว่าตำรวจจะมีหน้าที่พิทักษ์ ประชาชน และปราบปรามจับกุม ผู้ที่ กระทำผิดแต่ก็ใช่ว่าเจ้าหน้าที่ ตำรวจจะสามารถจับกุมใครก็ได้โดยไม่มีเหตุอันควร เนื่องจากการจับกุมนั้นก็ต้อง เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย ซึ่งตำรวจ ก็ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 78 กำหนดเอาไว้ว่าหากจะจับใครสักคนตำรวจก็ต้องมี หมายจับจากศาลมาก่อน เว้นแต่คนร้ายกระทำความผิดซึ่งหน้าหรือมีเหตุ อันสมควร เช่น โจรวิ่งหนี เจ้าทรัพย์ หรือเป็นบุคคลที่หลบหนีจากการ ขอประกันตัว เป็นต้น หรือเป็น ความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้ ในขณะนั้น 

“มาตรา 78 พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้ เว้นแต่

               (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80

               (2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด

               (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา 66 (2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้

               (4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117 “

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

***************************************

05.เรื่อง ทวงหนี้ ผิดคน ผิดเวลา มีโทษทางอาญาครับ

     มีคนกล่าวกันว่า เป็นอะไรก็ไม่ทุกข์เท่าเป็นหนี้ เพราะเมื่อเป็นหนี้แล้วเกิดกรณี ชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนด หรือผิดนัดชำระหนี้ จะต้องถูกโทรศัพท์ทวงหนี้ จากเจ้าหนี้ทุกวัน บางทีวันละ 2-3 ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการทวงหนี้กันใน ยามวิกาล ซึ่งนอกจากสร้างความน่ารำคาญแล้ว ยังทำให้ลูกหนี้หวาดกลัวอีกด้วย ตามพระราชบัญญัติการทวงหนี้พ.ศ. 2558 มาตรา 9 (2) จึงวางมาตรการ คุ้มครองลูกหนี้ เพื่อไม่ให้ถูกคุกคามจากเจ้าหนี้จนเกินไป โดยกำหนดให้เจ้าหนี้ ติดต่อทวงถามหนี้ได้ระหว่างวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 นาฬิกา และในวันหยุดราชการ ทวงได้เวลา 08.00-18.00 นาฬิกา เท่านั้น หากฝ่าฝืน จะถูกคณะกรรมการทวงหนี้ประจำจังหวัดหรือประจำกรุงเทพมหานคร มีอำนาจ สั่งให้ยับยั้งการกระทำดังกล่าว ตามมาตรา 34

“ในกรณีที่ปรากฏแก่คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ ว่าผู้ทวงถามหนี้ฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘ วรรคสอง (๑) หรือ (๔) มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๑ (๖) หรือมาตรา ๑๓ (๑) ให้คณะกรรมการตามมาตรา ๒๗ มีอํานาจสั่งให้ระงับการกระทําที่ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติ ให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กําหนด

หากผู้ทวงถามหนี้ไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการ ตามมาตรา ๒๗ พิจารณามีคําสั่งลงโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 100,000 บาท”

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

********************************************

06.เรื่อง ชักชวน ผู้เยาว์ ระวังคุก

           ผู้เยาว์หรือเยาวชนที่อายุเกิน 15 ปีแล้ว แต่ไม่ถึง 18 ปี ตามกฎหมายได้ให้ ความคุ้มครอง เพราะเป็นกลุ่มที่มักถูกชักจูงให้ไปกับผู้อื่นผ่านสื่อออนไลน์ หรือหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุอันจะนำไปสู่ปัญหาอาชญากรรมและสังคมตามมา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรค 1 กำหนดบทลงโทษผู้ที่พรากตัวผู้เยาว์อายุเกิน 15 ปี แต่ไม่ถึง 18 ปี ให้ไปจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง โดยที่ผู้เยาว์ไม่เต็มใจ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 ปี 

ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 4,000 บาท ถึง 20,000 บาท 

“ มาตรา 318 ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ยังไม่เกิน 18 ปีไปเสีย จากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2-10 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000-200,0000 บาท
        ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น
        ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-15 ปีและปรับตั้งแต่ 60,000-300,000 บาท”

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

***************************************

07.เรื่อง เงินในบัญชีธนาคารหาย ใครรับผิดชอบ

   "เงิน" ซื้อทุกอย่างในโลกนี้ไม่ได้ แต่เงินก็มีส่วนจำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวัน และทุกคนมีสิทธิที่จะปกป้องทรัพย์สินหรือเงินของตัวเอง ดังนั้น การฝากเงินไว้กับธนาคารจึงเป็นหนทางที่หลายคนเชื่อมั่นว เงินจะปลอดภัยมากที่สุด แต่อยู่มาวันหนึ่งปรากฏว่า เงินในบัญชีหายไป ใครจะรับผิดชอบหรือใครเป็นผู้เสียหาย 

     ทั้งนี้ การฝากเงินกับธนาคารถือได้ว่าเป็นเรื่องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา 657 ที่ระบุว่าการฝากทรัพย์นั้น คือสัญญา ซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ‘ผู้ฝาก’ ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ‘ผู้รับฝาก’ และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ 

     ดังนั้น การฝากเงินจึงเป็นสัญญาเฉพาะระหว่างธนาคารกับลูกค้า และเมื่อเงินในบัญชีหายไปด้วยสาเหตุต่างๆ เช่นมีการปลอมลายมือชื่อไปถอนเงิน หรือแอบถอนเงินจากบัญชีโดยที่เจ้าของบัญชีไม่รู้เรื่อง หรือพนักงานของธนาคารแอบถอนเงินไป ด้วยเหตุนี้ ธนาคารจะต้องรับผิดต่อเจ้าของบัญชีตามสัญญาฝากทรัพย์ ซึ่งผู้เสียหาย คือ ธนาคารที่ถูกทำละเมิดจากบุคคลเหล่านั้นทั้งทางแพ่งและอาญา ดังนั้น เจ้าของบัญชีจะเอาผิดยักยอกกับธนาคารไม่ได้เพราะธนาคารเองไม่มีเจตนา แต่ธนาคารย่อมรับผิดต่อเจ้าของบัญชีตามสัญญาฝากเงิน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่2542/2549 และ 6708/2537)

     โดยสรุปคือ หากฝากเงินกับธนาคารแล้วเงินในบัญชีหาย ธนาคารเป็นผู้เสียหายโดยตรง และธนาคารต้องรับผิดชอบคืนเงินตามสัญญาฝากเงิน

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

***************************************

08.เรื่อง ปลอมบัตรประชาชน ปลอมเอกสารต่างๆ มีโทษทางอาญาครับ

          ปัจจุบันพบว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพปลอมแปลงบัตรประชาชน เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการดำเนินธุรกรรมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือประชาชน ดังนั้น การปลอมแปลงบัตรประชาชนของผู้อื่น หรือนำบัตรประชาชนของผู้อื่นมาใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยมิชอบ ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2526 มาตรา 15 ในฐานความผิดผู้ใดนำบัตรหรือใบรับหรือใบแทนของผู้อื่นไปใช้แสดงว่าตนเองเป็นเจ้าของบัตรหรือใบรับหรือใบแทนใบรับ มีโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

******************************************

09. เรื่อง ไม้หวงห้าม ใครครอบครองระวังมีโทษทางอาญา

          หลายๆ ท่านอาจไม่ทราบว่าต้นไม้บางชนิดเป็นไม้หวงห้ามและห้ามมีไว้ ในครอบครอง ดังนั้นผู้ที่นิยมซื้อไม้ไว้ปลูกสร้างที่ อยู่อาศัยจำเป็นต้องระมัดระวั งอย่างยิ่งในการรับซื้อไม้จากผู้จำหน่ายที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะหากมีไม้หวงห้ามอาทิ ไม้สัก ไม้ยาง ฯลฯ ไว้ในครอบครอง ถือว่ากระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 1 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 2,000,000 บาท

พรบ.ป่าไม้ มาตรา 69 ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวง หรือรอยตรารัฐบาลขาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ในกรณีความผิดตามมาตรานี้ ถ้าไม้ที่มีไว้ในครอบครองเป็น
(1) ไม้สัก ไม้ยาง หรือไม้หวงห้ามประเภท ข. หรือ
(2) ไม้อื่นเป็นต้นหรือเป็นท่อนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินยี่สิบต้นหรือ ท่อน หรือรวมปริมาตรไม้เกินสี่ลูกบาศก์เมตร
ผู้กระทำความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่ง 1-20 ปี และปรับตั้งแต่ 5000 บาทถึง 200,0000 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

*******************************************

10, เรื่อง ผู้คำ้ประกันต้องรู้

   การเป็นผู้ค้ำประกันก็มีสิทธิ์ที่จะป้องกันตัวจากการที่จะต้องรับภาระจ่ายหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ที่เราไปค้ำประกันไว้เกิดไม่ยอมจ่ายหนี้ขึ้นมา และเจ้าหนี้ก็มุ่งมา เก็บหนี้นั้นที่เรา เราก็ยังไม่จำเป็นที่จะต้องรีบจ่ายเงินกฎหมายยังให้สิทธิเราที่จะบอกให้เจ้าหน้าที่ไปตามเก็บลูกหนี้สายตรงก่อน โดยเฉพาะหากทราบว่า บุคคลนั้นอยู่ที่ใดหรือรู้ว่ามีทรัพย์สินอื่นๆอยู่ อาทิ ทองคำ เงินสด และของมี ค่าอื่นๆ ก็สามารถให้เจ้าหนี้ไปดำเนินกระบวนการอายัดมาเพื่อจ่ายหนี้สินนั้นได้ 

นอกจากนี้ ในกรณีที่ เจ้าหนี้ มีทรัพย์สินของลูกหนี้ ที่ใช้เป็นหลักประกันอยู่ก่อนแล้ว ผู้ค้ำประกันก็มีสิทธิ์ที่จะบอกให้เจ้าหนี้นำเอาหลักประกันนั้นไปใช้หนี้ก่อนที่จะมา เรียกเก็บกับเราซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งหลักการนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 688 และมาตรา 689

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

*********************************************

11.เรื่อง เข้าป่าเก็บเห็ด ทำไมต้องจับด้วย

          บ่อยครั้งเรามักได้ยินว่าชาวบ้านที่อยู่ติดกับป่า เข้าไปเก็บของป่าต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นเห็ด น้ำผึ้ง กล้วยไม้ หรือลูกไม้หายากต่างๆ มาขาย แล้วก็ถูกจับ ปัญหา ที่เกิดขึ้นก็เพราะพวกเขาขาดความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย เพราะกฎหมายกำหนดว่า หากจะเข้าไปในป่าเพื่อเก็บของป่าเช่นนี้ต้องขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบ มิเช่นนั้นจะถือว่าเป็นการบุกรุกป่าสงวน นอกจากนี้สิ่งของที่เก็บมา บางประเภทก็เป็นสิ่งต้องห้าม อย่างเช่น กล้วยไม้ หรือการล่าสัตว์สงวนบางชนิด ซึ่งทำให้มีความผิดขึ้นมาอีก เพราะสิ่งที่ได้มาจากป่าถือว่าเป็นทรัพยากรของรัฐ 

การที่ไม่ได้ขออนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเสียค่าภาคหลวง อันหมายถึง ค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของรัฐ ถือว่า มีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ประกอบ 71 ทวิต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

*********************************************

12.เรื่อง คนดื่ม ไม่ได้ขับ ถูกจับได้เหมือนกัน

           ช่วงเทศกาลต่างๆ ที่มีวันหยุดยาว อย่างเช่น สงกรานต์หรือปีใหม่ จะเห็นภาพ ผู้คนเหมารถไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดกันเป็นหมู่คณะ และบางครั้งก็มีการดื่มเหล้า กันบนรถเพื่อความสนุกสนานด้วย การกระทำนี้เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เพราะอาจ ก่ออันตรายร้ายแรงบนท้องถนนขึ้นได้ ซึ่งเจ้าพนักงานก็พยายามอย่างสุดความสามารถ ที่จะป้องกันเหตุเหล่านี้และวิธีหนึ่งก็คือการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด กรณีการดื่มเหล้าหรือเบียร์ในรถ แม้ว่าผู้ขับรถไม่ดื่ม แต่ถ้าผู้ที่โดยสารมาด้วย ดื่มสุราหรือเบียร์ในรถ ไม่ว่าจะดื่มขณะที่รถวิ่งอยู่บนท้องถนน หรือรถจอด อยู่ข้างทางเท้าคนขับรถก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 4 มาตรา 31 (7) และมีความผิดตามมาตรา 42 ถูกจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สรุปว่าคนดื่มไม่ได้ขับก็มีสิทธิถูกจับได้เหมือนกัน

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

*********************************************

13.เรื่อง ประกันภัย - ชีวิต อย่าคิดสั้น

           ในสภาวะที่ครอบครัวยากลำบาก เศรษฐกิจไม่ดี มีเรื่องจำเป็นมากมายที่ต้อง ใช้เงิน อาจทำให้หลายคนคิดสั้นหัวหน้าครอบครัว อาจคิดว่าเมื่อตัวเองเสียชีวิตแล้วลูกหลานจะได้นำเงิน ประกันชีวิตที่ทำไว้ไปใช้หนี้ หรือใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น แต่ในการกระทำดังกล่าว นอกจากจะทำให้ตายฟรี และยังไม่ได้เงินด้วย เพราะเป็นการกระทำฝ่าฝืน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 895 (1) ที่บริษัทรับประกันชีวิต จะไม่จ่ายเงินให้แก่บุคคลที่ฆ่าตัวตาย

“มาตรา 895(1) เมื่อใดจะต้องใช้จำนวนเงินในเหตุมรณะของบุคคลคนหนึ่งคนใด ท่านว่าผู้รับประกันภัยจำต้องใช้เงินนั้นในเมื่อมรณภัยอันนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่
        (1) บุคคลผู้นั้นได้กระทำอัตวินิบาตด้วยใจสมัครภายในปีหนึ่งนับแต่วันทำสัญญาหรือ
        (2) บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา
        ในกรณีที่ 2 นี้

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

21.ขายฉลาดเกินราคา ผิดกฎหมายข้อใหน

ปัญหาจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาเอาเปรียบผู้บริโภคเป็นปัญหาที่สะสมมานาน ซึ่งสลากกินแบ่งรัฐบาลได้ระบุราคาขายไว้บนสลาก ราคาใบละ 40 บาท แต่มีผู้ขายสลากบางรายขายเกินราคาที่กำหนดไว้ ซึ่งถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 มาตรา 9 ทวิ ในฐานความผิดเสนอขาย หรือขายสลากกินแบ่งเกินราคาที่กำหนด มีอัตราโทษจำคุกหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

***************************************

22.กู้ยืมเงินเรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีโทษทางอาญาอะไร

การกู้ยืมเงิน เมื่อถึงเวลาชำระหนี้ผู้กู้ต้องคืนเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยให้กับผู้ให้กู้ตามที่ได้ตกลงกันไว้ ทั้งนี้ดอกเบี้ยต้องไม่เกินอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีตามที่กฎหมายกำหนด หากเกินกว่านี้ถือว่าผู้ให้กู้นั้น กระทำผิดพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3 มีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445



14.เรื่อง ขับรถระวังคน ข้ามถนนระวังรถ 

          คนที่ชอบขับรถและพูดโทรศัพท์โดยไม่พึ่งพาอุปกรณ์เสริมอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (9) และมาตรา 157 ที่กำหนดให้ผู้ที่ใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ยานพาหนะมีโทษปรับตั้งแต่ 400 บาท ถึง 1,000 บาท และหากทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะมีความผิดอาญาฐานขับรถด้วยความประมาท ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายซึ่งมีโทษทั้งจำคุกและปรับตามความร้ายแรงของมูลคดีตามกฎหมายดังกล่าวยังครอบคลุมไปถึงการกดหมายเลขโทรออก การรับสาย เล่นเกมส์ การดู หรือพิมพ์ข้อความหรือเล่นแชท ในโลก Social

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

*********************************************

15.เรื่อง บุหรี่ ไม่ได้มีไว้ให้แจก เป็นความผิดทางอาญา

บุหรี่นั้นมีโทษกับร่างกายผู้สูบรวมทั้งผู้ที่อยู่รอบข้าง ดังนั้นรัฐจึงมีกฎหมาย ออกมาควบคุมบุหรี่อย่างเคร่งครัดนอกจากเรื่องบริโภคและการขายแล้ว กฎหมาย ยังครอบคลุมมาถึงด้านการโฆษณาประชาสัมพันธ์อีกด้วย ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคไม่น้อยที่เมื่อมีสินค้าใหม่ๆ ออกมา กิจการส่วนใหญ่ เมื่อผลิตสินค้าออกมาแล้ว อาจจะต้องการให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้สินค้าตัวอย่าง จึงมีการนำไปแจกจ่ายให้ทดลองใช้ แต่กรณีของบุหรี่นั้นไม่สามารถทำได้ เพราะมีพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 มาตรา 7 ห้ามมิให้ แจกจ่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบแพร่หลายหรือเป็นการจูงใจสาธารณชนให้เสพผลิตภัณฑ์ ยาสูบนั้น ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นการให้กันตามประเพณีนิยม ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามบทกำหนดโทษ มาตรา 18 ตาม

พระราชบัญญัตินี้ 

เรื่องนี้เป็นข้อเตือนใจสำหรับเถ้าแก่น้อย เถ้าแก่ใหญ่ที่ลงมือทำการค้า ว่าต้องรู้เรื่องสินค้าของเราในทุกแง่มุมของกฎหมายด้วย

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

*********************************************

16.เรื่อง เป่าก็ผิด ไม่ยอมเป่าก็ผิด

          การมึนเมาขณะขับรถอาจทำให้ เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงแต่ก็มีผู้ละเมิด กฎหมายกันประจำ ทำให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจต้องมาตั้งด่านตรวจหานักดื่ม ที่ไม่ยอมทำตามกฎหมาย นักดื่มที่ ขับไปแล้วเจอด่านตำรวจบังคับให้ เป่าตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ บางคน อาจใช้วิธีไม่ยอมให้เป่าลมหายใจลงใน เครื่องทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ เพราะรู้ว่าตำรวจไม่มีอำนาจบังคับ ให้ทำได้ และคิดว่าเมื่อไม่เป่าก็ ไม่มีหลักฐานให้เอาผิดได้ นับเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะปัจจุบันมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2557 มาตรา 142 สาระสำคัญคือหากผู้ขับขี่ไม่ยินยอม เป่าทดสอบให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้นั้นฝ่าฝืนขับขี่รถขณะเมาสุรา และจะมีผลให้ผู้ที่ไม่ยอมเป่าทดสอบ ปริมาณแอลกอฮอล์ได้รับโทษเท่ากับ ผู้ที่เมาแล้วขับ คือจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และพักใช้ใบอนุญาตขับรถ ไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอน ใบอนุญาต 

สรุปว่าเป่าก็ผิด ไม่ยอมเป่าก็ผิด ทางที่ดีต้องแก้ไขจากต้นเหตุ คือไม่ควร ดื่มสุราแล้วขับรถ

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

*********************************************

17.เรื่อง เป็นเจ้าหนี้ไม่อยากโดนเบี้ยว ทำไง

          การให้ผู้อื่นยืมเงินเมื่อเขาลำบากก็นับว่าเป็นการช่วยเหลือเขาอีกทางหนึ่ง แต่ก็ควรต้องทำด้วยความรอบคอบ โดยเฉพาะเมื่อเป็นเงินจำนวนมากซึ่งเราก็หามา ด้วยความยากลำบากและเราเองก็ไม่อยากจะสูญเงินก้อนนั้นไป ปัญหาก็คือว่าเงินจำนวนเท่าไรจึงควรจะต้องทำสัญญาหรือทำหนังสือขึ้น เป็นหลักฐานการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 ที่ ระบุว่า หากกู้เงินเกิน 2,000 บาท ต้องมีสัญญาหรือหลักฐานเป็นหนังสือขึ้นมาและต้องมีลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะสามารถฟ้องร้องเรียกคืนเงินกันได้ หากว่าเรารอบคอบไว้ก่อน ก็อาจจะไม่เจอเรื่องการเบี้ยวหนี้ให้ปวดหัว และปวดใจในภายหลัง

แต่ปัจจุบันนี้ มีกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คุ้มครองเงินที่คุณโอนเข้าบัญชีลูกหนี้ไปก็ฟ้องได้ครับ แต่อย่าลืมระบุในสัญญาเรื่องค่าปรับ ดอกเบี้ยระบุว่าในอัตราสูงสุดตามกฎหมาย และค่าทนายความไว้ให้ครบครับ ระบุเท่าไหร่ก็ได้ มากหรือน้อยศาลลดหย่อนได้ครับ

ข้อสำคัญที่ต้องมีในสัญญากู้ยืมเงินคือ

เขียนดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดเบี้ยปรับกรณีผิดนัดร้อยละ ร้อยละ 5-10 ต่อเดือนจนกว่าจะชำระค่าทนายความและค่าติดตามทวงถาม 2-30000 บาท

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

*********************************************

18.จับผมทำไม แค่ผมเปิดเพลงในร้าน

ร้านอาหารโดยส่วนใหญ่ นิยมเปิดเพลงเพื่อสร้างบรรยากาศในการรับประทานอาหารให้แก่ลูกค้า ซึ่งปัจจุบันมีข้อถกเถียงกันว่าการเปิดเพลงในร้านอาหารถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ 

     ทั้งนี้ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 ระบุว่า ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่า งานใด ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

๑) ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ

๒) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

๓) แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ และ         

๔) นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร และหากใครฝ่าฝืนจะมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท และหากเป็นการกระทำเพื่อการค้าผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 70

     จากข้อกฎหมายดังกล่าว การเปิดเพลงในร้านอาหารกินข้าวธรรมดาไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะถือว่าไม่ได้เป็นการแสวงหากำไร แต่ถ้าเมื่อไหร่การเปิดเพลงนั้นเป็นไปเพื่อแสวงหากำไร “โดยตรง” หากฝ่าฝืนอาจถูกจำคุกหรือปรับได้

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

เครือข่ายทนายความ 089 227 1177

เครือข่ายทนายความ 089 227 1177

ทนายเตือนภัย เกี่ยวกับคดีอาญา

  1. บุหรี่ไฟฟ้า
  2. กักขังหน่วงเหนี่ยว
  3. อนาจารเด็ก
  4. อนาจารและโทษทางอาญา
  5. ค้ามนุษย์ 01-02
  6. ความผิดต่อเสรีภาพ 01-02
  7. คนในเครื่องแบบค้ากาม
  8. เอเยนต์น้อยๆ
  9. ความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณี
  10. สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยตามกฎหมาย


ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย 

www.สู้คดี.com

คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445

แชทกับทนาย: https://bit.ly/lawyernearyou

01.เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า

ในปัจจุบันมีบางท่านที่หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าทดแทนการสูบบุหรี่มวนยา จึงขอเตือนท่านทั้งหลายว่าไม่ควรไปยุ่งเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อใช้ หรือจำหน่าย หรือลักลอบนำเข้า เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องสินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้บารากู่และบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2557 ซึ่งมาตรา 247 แห่งพรบ.ศุลการกร พ.ศ.2560 กล่าวว่าผู้ใดนำหรือยอมให้ผู้อื่นนำสินค้า ของต้องกำกัด หรือของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากร ขึ้นบรรทุกหรือออกจากยานพาหนะ ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 242 หรือมาตรา 244 แล้วแต่กรณี 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

02.กักขังหน่วงเหนี่ยว

 การหน่วงเหนี่ยว หมายถึง การจำกัดเสรีภาพของบุคคลอื่น และการกักขัง หมายถึง การถูกบังคับให้อยู่ในที่จำกัด โดยผู้กระทำความผิดมีเจตนาที่จะทำให้บุคคลอื่นปราศจากเสรีภาพไม่สามารถขัดขืนได้ หากผู้ใดกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่น หรือกระทำการใดๆ ให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 310 วรรคหนึ่ง

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

03.อนาจารเด็ก

สังคมที่มีแต่การพัฒนาด้านวัตถุโดยลืมการพัฒนาจิตใจก็มักจะมีปัญหาสังคมตามมามากมาย ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้หญิงและเด็กที่มีมากขึ้นในสังคมไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนความผุกร่อนของสังคมเราได้ชัดเจนทีเดียว ยิ่งเมื่อไม่กี่วันก่อน ได้ฟังข่าวฝรั่งต่างชาติเอาขนมเอาของเล่นมาใช้ล่อลวงเด็กชายอายุ 8-10 ขวบ หลายคนให้เข้าไปในบ้านเช่าของตนแล้วก็กระทำมิดีมิร้ายกับเด็กเหล่านั้น การกระทำเช่นนี้เป็นความผิดฐานอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 279 ทั้งนี้ ไม่คำนึงว่าเด็กจะยินยอมด้วยหรือไม่ก็เป็นความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

04.อนาจารและโทษทางอาญา

ความผิดอาญาเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศนั้น มีอยู่ข้อหาหนึ่งที่ใกล้เคียงกับความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา และความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิง นั่นคือ ความผิดฐานอนาจาร การอนาจารนั้น ได้แก่ กระทำให้อับอายขายหน้าในทางเพศ โดยกระทำต่อเนื้อตัวร่างกายโดยตรง เช่น การกอด ปล้ำ สัมผัสจับต้องอวัยวะเพศ จับๆ ถูๆ ตามร่างกาย เช่น จับหน้าอก หรือบางคนโรคจิตวิตถารชอบให้คนอื่นมาจับต้องของของตน อย่างนี้ก็เป็นผิดอนาจารได้เหมือนกัน ข้อสำคัญก็คือต้องเป็นการขู่เข็ญ โดยเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายมิได้สมัครใจยินยอมซึ่งอาจเกิดจากการใช้กำลัง การมอมเมา ใช้ยาสลบ หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นคนอื่นจึงเผลอใจยินยอม เช่นนี้ก็ถือว่าผิดอนาจารได้เช่นกัน

            ความผิดฐานอนาจาร เช่น การกอด ปล้ำ สัมผัสจับต้องอวัยวะเพศจับๆ ถูๆ ตามร่างกาย ไม่ว่าชายกระทำต่อหญิง หญิงกระทำต่อชาย ชายกระทำต่อชาย หรือแม้แต่หญิงกระทำต่อหญิง ถ้าเป็นการขู่เข็ญโดยเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายมิได้สมัครใจยินยอม เพราะมีการใช้กำลังทำร้าย การมอมเหล้า มอมยาสลบ หรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นคนอื่น อย่างนี้ถือว่ามีความผิดฐานอนาจารทั้งสิ้น ซึ่งผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและขอเตือนไปยังบรรดาเจ้านายเฒ่าหัวงูทั้งหลายที่ชอบลวนลามลูกน้องในที่ทำงานระวังตัวไว้ให้ดี เสี่ยงทั้งคุกตะราง เสี่ยงทั้งชื่อเสียงหน้าที่การงาน ทั้งอับอายไปถึงลูกหลานด้วย

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

05.ค้ามนุษย์ 01

การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นเรื่องที่ประชาคมโลกให้ความสนใจ และร่วมมือกันกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์ให้หมดไป ซึ่งประเทศไทยมีกระบวนการทางกฎหมายเพื่อลงโทษผู้ที่กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ถูกจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พุทธศักราช 2551 มาตรา 52

5.1 ค้ามนุษย์ 02

ภัยมีรอบด้าน มิจฉาชีพมีทุกรูปแบบ โดยเฉพาะภัยที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กๆ ซึ่งปัจจุบันมีขบวนการค้ามนุษย์ลักพาตัวเด็กที่อายุไม่เกิน 15 ปี เพื่อบังคับใช้แรงงาน หรือแสวงประโยชน์ในธุรกิจ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่กักขัง หน่วงเหนี่ยว ให้อยู่อาศัย หรือรับไว้ซึ่งเด็กผู้นั้นต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่แปดปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พุทธศักราช 2551 มาตรา 6 และมาตรา 52 ในความผิดฐานค้ามนุษย์

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

06.ความผิดต่อเสรีภาพ 01

ยุคสังคมออนไลน์ โลก Social Network ในปัจจุบัน ยังปรากฏให้เห็นคดีคนร้ายจับเหยื่อไปกักขังหน่วงเหนี่ยว กักกันเสรีภาพ และลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อายุไม่ถึงสิบห้าปีหรือมากกว่า หรือไม่ว่าบุคคลใด ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 ว่าด้วยเอาคนไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่สามหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาทหรือจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต

6.1.ความผิดต่อเสรีภาพ 02

การค้ามนุษย์ เป็นปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติที่สำคัญระดับสากล ซึ่งมีผู้คนเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเด็กและสตรีถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้รับความเสียหายทั้งร่างกาย จิตใจ โอกาส และอนาคต ซึ่งมักจะเห็นในรูปแบบที่ผ่านนายหน้าหรือเอเย่นต์ และผ่านการบริการทางอินเตอร์เน็ต เพื่อการค้าประเวณี และค้าแรงงาน ดังนั้น หากผู้ใดพาคนหรือส่งคนออกนอกราชอาณาจักร โดยผู้ถูกพาหรือส่งไปไม่สมัครใจ ถือว่าบุคคลนั้นได้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 320 ว่าด้วยผู้ใดใช้อุบายหลอกหลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้ายใช้อำนาจครอบงำผิดทำนองคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด พาหรือส่งคนออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สี่พันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

07.คนในเครื่องแบบค้ากาม

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในการประกอบธุรกิจผิดกฎหมายต่างๆ ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นหวย บ่อน ซ่อง รีดไถ เก็บค่าคุ้มครอง ค้ายาเสพติด เรื่อยไปจนถึงค้าขายมนุษย์นั้น ได้มีคนในเครื่องแบบหรือคนมีสีเข้าไปเกี่ยวข้อง ส่วนจะเกี่ยวข้องมากน้อยระดับใดนั้นก็สุดแท้แต่ระดับศีลธรรมของแต่ละคน แต่สำหรับธุรกิจค้าน้ำกามโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีการบังคับข่มขืนใจหน่วงเหนี่ยว กักขัง ทุบตี เพื่อยอมให้ค้าประเวณีนั้น ถ้าผู้กระทำผิดหรือผู้สนับสนุนเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเป็นตำรวจ หรือ เป็นเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีเสียเอง ผู้นั้นก็มีโทษหนักกว่าปกติคือจำคุกตั้งแต่ 15 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 300,000 ถึง 400,000 บาท

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

08.เอเยนต์น้อยๆ

 ข่าวที่เริ่มจะปรากฏถี่ขึ้นในระยะนี้ เกี่ยวกับพฤติกรรมไม่ดีของวัยรุ่นไทยในทางเพศ ยิ่งมีการสำรวจวิจัยโดยสำนักโพลบ่อยครั้งขึ้นเท่าใดผลที่ออกมายิ่งทำให้เศร้าใจมากยิ่งขึ้น พวกสถิติตัวเลขเหล่านี้เป็นการสุ่มตัวอย่างย่อมมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง แต่สำหรับพฤติกรรมของวัยรุ่นที่ว่ากันว่ามีเด็กบางคนตั้งตนเป็นเอเย่นต์ ชักพาเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ คนที่รู้จักที่หน้าตาดีหน่อยเข้าวงการขายบริการทางเพศ หาเงินมาตอบสนองความฟุ้งเฟ้อในทางวัตถุ พฤติกรรมเช่นนี้เป็นความผิดตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี มีโทษถึงขั้นติดคุก และขอเตือนผ่านไปยังน้องๆ เหล่านี้ว่าขอให้คิดถึงคุณค่าของตนเองและจิตใจของพ่อแม่ด้วย

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

***************************************

09.ความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณี

เรื่องของโสเภณีหรือหญิงที่ขายบริการทางเพศนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านานแล้ว ยิ่งทุกวันนี้สภาพการณ์มันน่ากลัวกว่าแต่ก่อน มีโรคภัยไข้เจ็บ มีการบังคับข่มขืนใจทั้งเด็กทั้งผู้หญิง หรือแม้แต่ทั้งผู้ชายให้ค้าประเวณี และที่สำคัญอาชีพนี้ก็ยังได้ระบาดเข้าไปในบรรดานักเรียน นิสิต นักศึกษาด้วย แม้จะมีกฎหมายกำหนดว่า การเตร็ดเตร่ ชักชวน รบเร้าบุคคลตามถนนหนทางสาธารณะ เพื่อค้าประเวณีอย่างเปิดเผยนั้น เป็นสิ่งที่น่าอับอายและก็เป็นความผิด แต่ถ้าท่านผู้อ่านได้ลองขับรถวนรอบสวนสาธารณะชื่อดังกลางกรุงเวลาตั้งแต่สามสี่ทุ่มเป็นต้นไป ภาพอะไรหลายๆ อย่างก็จะชัดเจนขึ้น

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

***************************************

10.สิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยตามกฎหมาย

บุคคลใดก็ตามถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และถูกจับกุมเป็นผู้ต้องหาตามกฎหมายยังถือว่าผู้นั้นบริสุทธิ์อยู่ จนกว่าจะถูกฟ้องเป็นจำเลยและศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด ดังนั้นสิทธิของผู้ต้องหาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมกันตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 7/1 ได้กำหนดสิทธิของผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหาไว้ว่า ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมตัวหรือคุมขัง มีสิทธิแจ้งให้ญาติหรือผู้ที่ผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุม หรือสถานที่ถูกควบคุมตัวในโอกาสแรกที่ถูกจับ และมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความเป็นการเฉพาะตัว รวมถึงให้ทนายความเข้าฟังการสอบปากคำในชั้นสอบสวน และได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร ตลอดจนได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็ว เมื่อเกิดการเจ็บป่วย นอกจากนี้ กฎหมายได้กำหนดให้เจ้าพนักงานปกครอง หรือตำรวจผู้รับมอบตัว หรือผู้จับกุมต้องแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับกุมให้ทราบในโอกาสแรกที่ถูกจับกุมด้วย

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้บ้าน 099 464 4445 อยากปรึกษาหรือหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.ทนายภูวงษ์.com



เครือข่ายทนายความ 089 227 1177

เครือข่ายทนายความ 089 227 1177

ทนายเตือนภัย เกี่ยวกับคดีแรงงาน

  1. นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย 01
  2. นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย 02




ขอบคุณข้อมูลดีๆมีสาระจากเพจรู้หมดกฎหมาย

www.สู้คดี.com

คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445

แชทกับทนาย: https://bit.ly/lawyernearyou


01.นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย 01

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพุทธศักราช 2541 มาตรา 118 กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างในกรณีต่อไปนี้ 1. ลูกจ้างที่มีระยะเวลาการทำงานให้นายจ้างไม่ครบ 120 วัน 2. ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างแน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนด ซึ่งงานที่มีกำหนดระยะเวลานี้ ต้องทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร และมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน อาจมีลักษณะการจ้างเป็นครั้งคราว เช่น การทำสัญญาจ้างเหมาแรงงานก่อสร้างบ้านหนึ่งหลัง ซึ่งงานประเภทนี้จะต้องเสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาไม่เกิน 2 ปี

นอกจากนี้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างกระทำความผิดตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้ ตามเหตุดังต่อไปนี้ 1. ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง 2. จงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 4. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน 5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและ 6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้งนี้ หากลูกจ้างกระทำผิดตามเหตุที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง แต่ต้องระบุเหตุแห่งการกระทำความผิดไว้ในหนังสือเลิกจ้างด้วย

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

02. นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย 02

เมื่อลูกจ้างได้ทำงานให้แก่นายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างในการทำงานตามเวลาปกติ ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชยเมื่อมีการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามที่กฎหมายกำหนดไว้หากนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างหรือจงใจไม่จ่ายค่าจ้าง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพุทธศักราช 2541 มาตรา 9 มีบทบังคับให้นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดไม่ชำระค่าจ้างให้ลูกจ้าง

นอกจากนี้ หากนายจ้างมีเจตนาจงใจไม่จ่ายค่าจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร หรือมีเจตนากลั่นแกล้งไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้ลูกจ้าง ตามกฎหมายมาตรา 9 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พุทธศักราช 2541 มีบทบังคับให้นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ทุกเจ็ดวันของเงินค่าจ้างที่ค้างชำระ นับแต่วันครบกำหนดที่นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ในกรณีนี้ถือว่านายจ้างต้องเสียเงินเพิ่มขึ้น เนื่องจากกฎหมายเห็นว่า นายจ้างมีเจตนาไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445


เครือข่ายทนายความ 089 227 1177

เครือข่ายทนายความ 089 227 1177

ทนายเตือนภัย เกี่ยวกับที่ดิน

  1. สัญญาจะซื้อจะขาย
  2. ที่ดิน ส.ป.ก.


ขอบคุณข้อมูลดีๆมีสาระจากเพจรู้หมดกฎหมาย

www.สู้คดี.com

คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445

แชทกับทนาย: https://bit.ly/lawyernearyou

01.สัญญาจะซื้อจะขาย

กรณีซื้อขายอีกกรณีหนึ่งที่เรียกว่า สัญญาจะซื้อจะขายซึ่งมักกระทำกันเป็นประจำเพราะส่วนมากมีเงินไม่พอคู่สัญญาจึงมักทำสัญญากันไว้ก่อนแต่ยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น จนกว่าจะได้เงินครบจึงไปโอนกรรมสิทธิ์ต่อกันในภายหลัง แต่จะมีผลบังคับกันได้อย่างไรนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม กล่าวคือ สัญญาจะซื้อจะขายถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่งอย่างใด ลงลายมือชื่อ ผู้ต้องรับผิดชอบหรือวางประจำหรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องบังคับกันไม่ได้และให้บังคับถึงกรณีซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงซื้อขายกันเป็นราคาสองหมื่นบาทหรือมากกว่านั้นด้วย อธิบายได้ว่า การทำสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์หรือกรณีซื้อขายสังหาริมทรัพย์ราคาตั้งแต่สองหมื่นบาทถ้าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรลงลายมือชื่อฝ่ายที่จะต้องรับผิดหรือวางประจำหรือวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนจะฟ้องร้องให้บังคับกันไม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่า สัญญาเป็นโมฆะ แต่เป็นกรณีไม่สามารถฟ้องร้องบังคับกันได้เท่านั้นเอง

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

02.ที่ดิน ส.ป.ก.

ที่ดิน สปก. เป็นที่ดินที่รัฐยกให้เกษตรกรเพื่อใช้เป็นที่ดินทำกิน ไม่สามารถซื้อขายได้ แต่เป็นมรดกตกทอดได้ แต่สภาพความเป็นจริงที่ดิน สปก. หลายๆ พื้นที่มีการแอบซื้อขายกัน ทั้งนี้ พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39 ระบุว่า ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะ ทำการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม หรือโอนไปยังสถาบันเกษตรกร หรือ ส.ป.ก. เพื่อประโยชน์ในการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงภายในเขตปฎิรูปที่ดิน และหากมีการซื้อ - ขายที่ดิน สปก. ถือเป็นการกระทำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ซึ่งจะทำให้การซื้อขายนั้นเป็นโมฆะ อีกทั้งมาตรา 411 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ยังกำหนดผลต่อไปว่า ผู้ซื้อไม่อาจเรียกเงินคืนได้จากการชำระหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445




เครือข่ายทนายความ 089 227 1177

เครือข่ายทนายความ 089 227 1177

ทนายเตือนภัย เกี่ยวกับผิดสัญญา

  1. แชร์
  2. ข้อห้ามท้าวแชร์
  3. เจ้าหนี้ยึดโฉนด (สัญญากู้ยืม)


ขอบคุณข้อมูลดีๆมีสาระจากเพจรู้หมดกฎหมาย

สู้คดี.com

คอลเซ็นเตอร์ ทนายความ 02 114 7521

แชทกับทนาย https://bit.ly/lawyernearyou

01.แชร์

เมื่อท่านได้เข้ากลุ่มการเล่นแชร์แล้ว อาจมีข้อกังวลว่าแชร์อาจจะล่ม ซึ่งมีข้อแนะนำสำหรับการรับมือแชร์ล่ม ดังนี้

1) ท้าวแชร์ไม่โกง ไม่หนี แต่มีเหตุอื่นๆ ทำให้แชร์ล่มทำให้การบริหารเงินไม่เป็นไปตามเป้าหมายการเล่นแชร์ กรณีนี้แก้ด้วยการฟ้องร้องบังคับทางแพ่งโดยไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีทางแพ่งได้โดยสืบพยานบุคคล

2) ท้าวมีเจตนาโกงตั้งแต่แรก บอกว่าจะตั้งวงแชร์พอได้เงินแล้วนำเงินหลบหนีไป กรณีนี้สามารถแจ้งตำรวจเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3) ถ้าท้าวแชร์ไม่ได้ตั้งใจหลอกตั้งแต่แรก แต่ต่อมาภายหลังท้าวแชร์นำเงินกองกลางไปใช้แล้วหลบหนีไป กรณีนี้สามารถแจ้งความฐานยักยอกทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4) ถ้าลูกแชร์คนใดคนหนึ่งหรือหลายคนหลบหนี ท้าวแชร์ต้องรับผิดชอบโดยสำรองจ่ายไปก่อน แล้วท้าวแชร์ใช้สิทธิไปแจ้งความฐานยักยอกทรัพย์กับลูกแชร์นั้นๆ ได้ แต่กรณีนี้ลูกแชร์หนีท้าวแชร์จะปัดความรับผิดชอบไม่ได้

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

02. ข้อห้ามท้าวแชร์

   รู้หรือไม่ว่า พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ 2534 (มาตรา 6) ห้ามท้าวแชร์กระทำการดังนี้ 

1) ห้ามท้าวแชร์จัดเล่นแชร์เกิน 3 วง

2) ห้ามมีเงินกองกลางต่อครั้งรวมกันทุกวงเกิน 300,000 บาท

3) ห้ามมีสมาชิกวงแชร์ทุกวงรวมกันเกิน 30 คน

และ หากท้าวแชร์ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามมาตรา 6 จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้ศาล 099 464 4445

***************************************

03.เจ้าหน้าที่ยึดโฉนด

การทำสัญญากู้ยืมเงินที่มีการทำหนังสือสัญญาลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ให้ยืมและผู้ยืม ซึ่งหนังสือสัญญานี้จะเขียนใส่กระดาษธรรมดาก็ไม่มีปัญหาประการใด และหากเจ้าหนี้นำเอาที่ดินของลูกหนี้มาจดจำนอง ซึ่งถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดก็สามารถยึดที่ดินแทนการชำระหนี้ได้ แต่หากลูกหนี้นำเอาแต่โฉนดที่ดินมาให้เจ้าหนี้ยึดไว้เท่านั้น กรณีนี้หากเจ้าหนี้ทำเพียงหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน และรับโฉนดที่ดินไว้แต่ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะมีผลเท่าเป็นการ “จำนำโฉนด” ซึ่งเป็นเพียงเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของลูกหนี้เท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการ “จำนอง” ซึ่งลูกหนี้อาจไปขอออกโฉนดใหม่ได้และโฉนดที่ดินไม่ได้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจใดๆ ที่จะยึดมาชำระหนี้ได้ ดังนั้น อย่าลืมนำโฉนดไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิเช่นนั้นจะเป็นเพียง “จำนำโฉนด” นั่นเอง เพราะโฉนดที่ดิน คือ กระดาษ ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์อันจะจำนองได้

     ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 714 ที่บัญญัติให้การจำนองอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

เครือข่ายทนายความ 099 227 1177

เครือข่ายทนายความ 099 227 1177

ทนายเตือนภัย เกี่ยวกับเรื่องมรดก

 มรดกคืออะไร

คำว่า “มรดก” หมายถึง ทรัพย์สินทุกชนิดที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนตาย รวมถึงสิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่างๆ เว้นแต่โดยสภาพตามกฎหมายเป็นเฉพาะตัวตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 และทรัพย์สินรวมทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดที่เป็นมรดกจะตกทอดแก่ทายาทเมื่อบุคคลผู้นั้นถึงแก่ความตาย ตามบทบัญญัติของมาตรา 1599 การตกทอดมรดกในทรัพย์สินนั้นตกทอดทันทีที่เจ้ามรดกเสียชีวิต ซึ่งเป็นผลของกฎหมาย อย่างไรก็ดี แม้ว่าทรัพย์มรดกเกี่ยวกับหนี้สินของผู้ตายจะมีมากเท่าใด ความรับผิดชอบในหนี้สินแม้จะตกแก่ทายาท แต่ทายาทที่รับมรดกก็ไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้นั้นเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1601 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


  1. การตั้งผู้จัดการมรดก
  2. ผู้จัดการมรดกฮุบมรดก
  3. เปิดสมบัติเจ้าคุณปู่
  4. การทำพินัยกรรม
  5. ทรัพย์มรดกต้องแบ่งใครบ้าง
  6. ผู้จัดการมรดกชาวต่างชาติ
  7. ปิดทุกปัญหาแก้ปัญหาคดีมรดก
  8. มรดกบ้านเช่า
  9. ทรัพย์สินพระระหว่างบวช ทายาทชวดทวง
  10. มรดกเล็กหรือใหญ่ใครมีสิทธิก่อน
  11. หนี้สินมากมาย ใครรับผิดชอบ
  12. วุ้นๆวายๆกับผู้รับมรดก
  13. รู้จักผู้สืบสันดาน อ่านเรื่องมรดกมากขึ้น


ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย

www.สู้คดี.com

คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445

แชทกับทนาย: https://bit.ly/lawyernearyou

01.การตั้งผู้จัดการมรดก

การเป็นผู้จัดการมรดกนั้น จะกระทำโดยพินัยกรรมแต่ถ้าพินัยกรรมไม่ระบุไว้ก็ทำโดยคำสั่งศาล ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1711

     ในทางปฎิบัติทายาทจะต้องยื่นคำร้องต่อศาล โดยอาจยื่นเอง หรือ ให้ทนายยื่นให้ โดยมีเอกสาร ใบมรณบัตร ทะเบียนบ้านของท่านและเจ้ามรดก สำเนาบัตรประชาชนของท่านและเจ้ามรดก ใบสูติบัตรหรือทะเบียนสมรสที่แสดงความเกี่ยวพันของท่านกับเจ้ามรดก นอกจากนี้ ยังต้องเตรียม หลักฐานแสดงทรัพย์สินของเจ้ามรดก เช่น บัญชีเงินฝาก โฉนดที่ดิน รายชื่อวงศ์วานว่านเครือที่มีสิทธิในมรดก และหนังสือยินยอมของทายาทคนอื่นๆ เช่น พี่น้องของผู้ยื่นคำร้องเป็นผู้จัดการมรดก ในกรณีไม่ให้ความยินยอม ศาลจะเรียกทายาทมาตกลงกันอีกครั้ง ซึ่งกระบวนการกว่าศาลจะสั่งใช้ระยะเวลาราว 1 เดือน

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

02.ผู้จัดการมรดกฮุบมรดก

 ในบางกรณีอาจพบว่า ผู้จัดการมรดก ไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท บางทีอาจฮุบมรดกเป็นของตัวเอง บางทีก็สมรู้ร่วมคิดโอนมรดกไปให้คนอื่น การกระทำดังกล่าวไม่ใช่แค่เรื่องทางแพ่งอย่างเดียว แต่ยังเป็นการกระทำผิดทางอาญาอีกด้วย โดยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

03.เปิดสมบัตเจัาคุณปู่

เจ้าคุณปู่ผู้ล่วงลับเป็นคหบดีซึ่งมีทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ผู้จัดการมรดกที่ตั้งขึ้นมีหน้าที่แบ่งทรัพย์สินเหล่านี้ให้แก่ทายาททุกคน แต่ต่อมาปรากฏว่า นายอำเภอได้นำพินัยกรรมของเจ้าคุณปู่ ซึ่งระบุให้บุคคล นอกวงศ์วานทายาทร่วมรับมรดกด้วย นอกจากนี้ เจ้าคุณปู่ยังยกที่ดินหลายสิบไร่ถวายวัดอีกด้วย ส่งผลให้ เครือญาติต่างไม่พึงพอใจแต่ก็ไม่ขัดความประสงค์ของเจ้าคุณปู่ จึงได้ให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการ ทั้งนี้ ในกรณีที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้ผู้จัดการมรดกจะต้องยึดเนื้อความตามพินัยกรรมเป็นหลักตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์มาตรา 1620 ซึ่งพินัยกรรมเขียนไว้อย่างไรต้องจัดการไปตามนั้น แม้บางครั้งทายาทอาจไม่ได้รับ อะไรเลยก็ได้ โดยเฉพาะทายาทอกกตัญญูที่อาจถูกตัดออกจากกองมรดกด้วยพินัยกรรม ซึ่งเรียกว่า พินัยกรรม ตัดมรดก หมายความว่า ถ้าเจ้ามรดกทำพินัยกรรมจึงไม่ต้องไปดูเรื่องทายาทให้ดำเนินการตามเนื้อความที่ปรากฏพินัยกรรม ส่วนพินัยกรรมทำอย่างไร มีกี่แบบนั้น ติดตามได้ในตอนต่อไป

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

04.การทำพินัยกรรม

 หลังจากท่านเจ้าคุณถึงแก่กรรม ทรัพย์ศฤงคารของท่านถูกแบ่งสรรอย่างเป็นธรรม ไร้ข้อโต้แย้ง ทั้งเรื่องลายมือชื่อปลอม และสติสัมปชัญญะ ปกติแม้จะทำพินัยกรรมแล้ว แต่ในพินัยกรรมบางอย่างมีช่องโหว่ในภายหลังให้โต้แย้งได้ เช่น พินัยกรรมแบบธรรมดา ที่ทำกันเองเป็นหนังสือกับพยานสองคน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1656 และพินัยกรรมแบบเขียนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1657

     สองแบบนี้ฝ่ายผู้ไม่หวังดีจะสู้ว่าลายมือชื่อปลอมบ้าง หรือเจ้ามรดกขาดสติเพราะอายุมากไปจับมือเขียนบ้าง ซึ่งเจ้ามรดกอาจป้องกันข้อโต้แย้งดังกล่าว โดยการทำพินัยกรรมเป็นเอกสารฝ่ายเมือง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1658 โดยทำพินัยกรรมต่อหน้านายอำเภอและลงลายมือชื่อนายอำเภอ หรือพินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1660 โดยจะต้องเขียนพินัยกรรมเอง หรืออาจไม่จำเป็นต้องเขียนพินัยกรรมเอง แต่ให้ผู้อื่นเขียนให้แล้วผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้ลงลายมือชื่อ พร้อมใส่ซองปิดผนึกมีการลงตราประทับและลายมือชื่อนายอำเภอที่ซอง เพื่อป้องกันความลับรั่วไหล ซึ่งพินัยกรรมแบบเอกสารลับจะมีช่องโหว่น้อยที่สุด แต่ในความเป็นจริงพินัยกรรมแบบฝ่ายเมืองเป็นแบบนี้นิยมทำกันมากที่สุด (อ้างอิง www.vicharkarn.com)

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

06.ทรัพย์มรดกต้องแบ่งใครบ้าง

 ตามี เป็นชาวบ้านมีเลือกสวนไร่นามากมาย ต่อมาเมื่อตามีเสียชีวิต แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมแบ่งทรัพย์สมบัติที่มีอยู่อย่างมากมายไว้ จนเกิดเป็นปัญหาการแย่งชิงมรดก บุตรสาวของตามีจึงได้หาทนายมาช่วยจัดการมรดก ซึ่งในการแบ่งทรัพย์มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1632-1638 มีหลักการ ดังนี้

     1) ต้องดูว่าเจ้ามรดกมีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสหรือไม่ ถ้ามีต้องแบ่งให้ ส่วนภรรยานอกสมรสหรือเมียน้อยไม่มีสิทธิ

     2) นอกจากภรรยาที่จดทะเบียนสมรสแล้ว บุคคลต่อไปนี้อาจมีสิทธิได้รับมรดก เราเรียกบุคคลกลุ่มนี้ว่า ทายาทโดยธรรม ซึ่งมี 6 ลำดับ ดังนี้ 1. ผู้สืบสันดาน 2. บิดา มารดา 3. พี่น้องพ่อแม่เดียวกัน 4. พี่น้องพ่อหรือแม่เดียวกัน 5. ปู่ ย่า ตา ยาย 6. ลุง ป้า น้า อา 

     3) อย่างไรก็ตาม ทายาททั้ง 6 กลุ่ม ไม่มีสิทธิรับมรดกทุกคน โดยลำดับการรับมรดกนั้น ญาติสนิท คือ ผู้สืบสันดาน หรือ บิดา มารดา ในกลุ่มที่ 1 และ 2 จะได้รับมรดกก่อน และญาติลำดับอื่นจะถูกตัดไม่ให้รับมรดก  เรียกหลักการนี้ว่า ญาติสนิทตัดญาติห่าง หากตามีไม่มีบุตรธิดา ไม่มีบิดา มารดา พี่น้องพ่อแม่เดียวกันจะได้รับมรดกแต่ญาติในลำดับถัดไปก็หมดสิทธิโดยจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

07.ผู้จัดการมรกดชาวต่างชาติ

มีหลายคู่ที่แต่งงานกับคนต่างชาติ ซึ่งเมื่อผู้นั้นตายลง สามีหรือภรรยาที่เป็นคนต่างด้าวสามารถยื่นขอจัดการมรดกได้หรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 บัญญัติไว้ว่า บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ 1) ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ 2) บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความ สามารถ 3) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย ดังนั้น ตามหลักการดังกล่าวไม่ได้ห้ามคนต่างด้าวเป็นผู้จัดการมรดก นอกจากนี้ ในคำพิพากษาฎีกาที่ 626/2541 ยังเคยตัดสินว่า แม้จะเป็นบุคคลต่างด้าวแต่ก็ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ที่จะจัดการมรดกของผู้ตาย การเป็นบุคคล ต่างด้าวหาเป็นอุปสรรคในการจัดการมรดกของผู้ตายแต่อย่างใดไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรของผู้ตายได้ สรุปได้ว่า บุคคลต่างด้าวเป็นผู้จัดการมรดกได้

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

***************************************

08.ปิดทุกปัญหาเกี่ยวกับมรดก

การแย่งมรดกเป็นปัญหาที่สร้างความแตกแยกในครอบครัวได้มากที่สุด ซึ่งวิธีป้องกันปัญหาให้เกิด น้อยที่สุด สามารถสรุปได้ 

     1) เมื่อเจ้ามรดกเสียชีวิตต้องมีการตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาล ซึ่งมีระยะเวลารอคำสั่งศาลประมาณ 1 เดือน 

     2) เจ้ามรดกควรทำพินัยกรรมเพื่อความชัดเจนหากมีปัญหาฟ้องร้องกันในภายหลัง โดยเฉพาะพินัยกรรมฝ่ายเมืองซึ่งเป็นที่นิยมที่สุด

     3) การบันทึกภาพและเสียงของเจ้ามรดกว่าทำพินัยกรรมไว้จริงและมีสติสัมปัชชัญญะสมบูรณ์จะช่วยให้การนำสืบง่ายมากยิ่งขึ้น

     4) หากไม่มีพินัยกรรม การรับมรดกเป็นไปตามหลักการ ‘ญาติสนิทตัดญาติห่าง’ และภรรยาที่จดทะเบียน มีสิทธิได้รับมรดก ภรรยานอกสมรสไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก นอกจากจะขอให้เจ้ามรดกยกให้ก่อนเสียชีวิต บุตรของภรรยานอกสมรสก็ไม่มีสิทธิรับมรดก เว้นแต่เจ้ามรดกจะจดทะเบียนรับรองบุตร หรือเป็นบุตรที่เจ้ามรดกให้การรับรองโดยพฤติการณ์ และบุตรบุญธรรมก็เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

08.มรดกบ้านเช่า

หลายครอบครัวพักอาศัยในบ้านเช่า ซึ่งอยู่กันมายาวนานหลายรุ่น หากเจ้าของบ้านใจดีให้ต่อสัญญาเช่ายามที่ผู้เช่าเสียชีวิต ลูกหลานก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่ต่อสัญญาเช่าให้ ลูกหลานต้องย้ายออกหรือไม่นั้น กรณีนี้จะต้องมาดูว่า สัญญาเช่าเป็นมรดกตกทอดได้หรือไม่

     ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 บัญญัติไว้ว่า อันว่าเช่าทรัพย์สินนั้นคือสัญญา ซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น และ มาตรา 544 ทรัพย์สิน ซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิของตนอันมีในทรัพย์สินนั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอก ท่านว่าหาอาจทำได้ไม่ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า

     จากตัวบททั้งสองมาตรา อาจสรุปได้สั้นว่า สัญญาเช่าเป็นการตกลงกันเฉพาะตัวระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่า เมื่อผู้เช่าตายไปสิทธิดังกล่าว จึงไม่ใช่สิทธิของบุคคลอื่นนอกสัญญา เช่น ลูกหลาน เป็นต้น

     ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า หากผู้เช่าตายสัญญาเช่าย่อมระงับไป ไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

09.ทรัพย์สินพระระหว่างบวช ทายาทชวดทวง

หากในระหว่างบวชเป็นพระสงฆ์มีญาติโยมมอบเงินทอง ที่ดิน รถยนต์ให้ใช้ และปรากฎว่าต่อมาภิกษุรูปนั้นเกิดมรณภาพ ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1623 กำหนดว่า ทรัพย์สมบัติดังกล่าวต้องตกเป็นของวัด ที่จำพรรษาอยู่ ดังนั้น ทายาทจะมาร้องขอส่วนแบ่งจากวัดไม่ได้ ยกเว้นแต่ ระหว่างท่านยังมีชีวิตอยู่ได้มอบทรัพย์สินเงินทองให้ใคร หรือทำพินัยกรรมเอาไว้ให้บุคคลอื่นได้ เพราะทรัพย์ดังกล่าวเป็นของท่านที่จะมอบให้ใครก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น พระมนัสได้ทำพินัยกรรมมอบรถยนต์ให้แก่น้องชายตัวเองเอาไว้ ต่อมาเมื่อพระมนัสมรณภาพ รถยนต์คันดังกล่าวก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของน้องชาย โดยที่วัดไม่มีสิทธิ์ยึดครองเอาไว้ ส่วนทรัพย์สินอื่นๆ ที่มิได้ทำพินัยกรรมไว้ย่อมตกเป็นของวัด โดยที่ญาติของพระมนัสจะมาเรียกร้องไม่ได้เช่นกัน 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

10.มรดกเล็กหรือใหญ่ใครมีสิทธิก่อน

ปัญหาเรื่องมรดกกลายเป็นต้นเหตุให้ผู้คนเกิดการแก่งแย่งกันมามากมายแล้ว หากเจ้าของมรดกทำพินัยกรรมเอาไว้เรียบร้อยก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ได้ทำไว้ ลูกหลานจะทำอย่างไรกันดี ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 มาตรา 1630 และ มาตรา 1631 กำหนดให้ทายาทที่จะได้รับมีมรดกเพียง 6 ลำดับ คือ 1. ผู้สืบสันดาน (ลูกเจ้าของมรดก) 2. บิดามารดา 3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4. พี่น้อง ร่วมบิดา หรือร่วมมารดาเดียวกัน 5. ปู่ ย่า ตา ยาย และ 6. ลุง ป้า น้า อา โดยส่วนใหญ่ทายาทชั้นที่ชิดสนิทที่สุดของเจ้ามรดกเท่านั้นคือ 1. ผู้สืบสันดาน (ลูกเจ้าของมรดก) 2. บิดามารดาจะได้รับมรดกก่อน และกฎหมายยกเว้นให้ทั้งสองลำดับดังกล่าวอยู่ในลำดับเดียวกัน หากทายาท 2 ลำดับแรก คือ ผู้สืบสันดานและบิดามารดาไม่มีชีวิตอยู่ทั้งหมด ทายาทลำดับ 3 ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันของเจ้ามรดกอยู่ก็จะได้รับทรัพย์สินไป โดยทายาทที่อยู่ในลำดับที่ 4 ถึง 6 ก็จะไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกได้ รู้ลำดับชั้นของกฎหมายกันแล้ว ญาติพี่น้องจะได้ไม่ต้องมานั่งทะเลาะ แย่งสมบัติกันให้เจ้าของมรดกนอนตายตาไม่หลับ 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

11.หนี้สินมากมาย ใครต้องรับผิดชอบ

สิ่งที่เกี่ยวพันจากผู้ถึงแก่กรรมมายังทายาทไม่ใช่มีเฉพาะมรดกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องของหนี้สินอีกด้วย เช่น กรณีของพ่อแม่ที่เสียชีวิตแล้วทิ้งทั้งมรดกและหนี้สินไว้ให้กับบุตร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 ระบุว่าทายาทไม่จำเป็นต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดให้แก่ตน ตัวอย่างเช่น หากพ่อแม่มีหนี้สิน 10 ล้านบาท ต่อมาเสียชีวิตทั้งคู่จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะที่ทรัพย์สินของพ่อแม่ที่เป็นมรดกและตกทอดให้แก่บุตรมีเพียง 1 ล้านบาท บุตรก็ต้องนำมรดก 1 ล้านบาท ไปให้กับเจ้าหนี้ แต่ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้สินในส่วนที่เหลืออีก 9 ล้านบาท 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

12.วุ่นๆวายๆกับผู้รับมรดก

เมื่อมีทั้งคู่สมรสและเครือญาติ เรื่องของมรดกนั้น หากเจ้ามรดกทำพินัยกรรมเรียบร้อยย่อมไม่มีปัญหา แต่ถ้าไม่ได้ทำไว้นี่เองย่อมกลายเป็นเรื่องยุ่งยากตามมา กรณีที่ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกมีสามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรสกันถูกต้อง ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์สินครึ่งหนึ่งจากมรดกส่วนที่เป็นสินสมรสก่อน ตามประมวล กฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1625 ส่วนสินสมรสที่เหลืออีกครึ่งหนึ่ง ก็จะตกเป็นมรดกของทายาท ดังนั้น คู่สมรสจึงมีสิทธิได้รับมรดกอีกครั้งหนึ่งในฐานะทายาทร่วมกับ (ลูกเจ้ามรดก) และบิดามารดาของผู้ตายที่ยังมีชีวิตอยู่ตามประมวล กฏหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 1629, 1635 (1) ตัวอย่างเช่น นายเอและนางบี เป็นสามีภรรยาตามกฎหมาย และมีทรัพย์สินรวมกัน 1,000,000 บาท มีบุตรด้วยกัน 1 คน และมีบิดา และมารดาของนายเอที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย ต่อมานายเอเสียชีวิต เบื้องต้นทรัพย์สิน จำนวน 1,000,000 บาท นางบีจะได้รับเงินจำนวน 500,000 บาท ไปก่อน ซึ่งถือเป็นเงินสินสมรส ส่วนที่เหลืออีก 500,000 ก็ตกเป็น มรดกของทายาทตามลำดับของนายเอ ที่ประกอบด้วยบุตร บิดามารดา ที่ยังมีชีวิต และนางบีภรรยาอีกด้วย โดยจะได้ส่วนแบ่งในอัตราสัดส่วน เท่าๆ กัน คือคนละ 125,000 บาท ขณะที่นางบีภรรยาจะได้เงินรวมทั้งสิ้น 625,000 บาท 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************

13.รู้จักผู้สืบสันดาน อ่านเรื่องมรดกง่ายขึ้น

เวลาที่เราอ่านหนังสือกฎหมายเรื่องเกี่ยวกับมรดกมักจะพบคำว่า “ผู้สืบสันดาน” ทำให้เกิดความสงสัยว่าหมายถึงใคร ทั้งนี้ตามกฎหมายระบุไว้ว่า ผู้สืบสันดาน หมายถึง ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมา ได้แก่ ลูก หลาน เหลน ลื่อ ลื่อก็คือ คนที่สืบต่อจากเหลนลงมา เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 (1) นอกจากนี้ในกลุ่มของผู้สืบสันดานยังสามารถแบ่งประเภทของบุตรที่จะมีสิทธิได้รับมรดกในลำดับชั้นเดียวกัน โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 ประกอบด้วย 1. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรที่เกิดจากบิดาที่จดทะเบียนสมรส 2. บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองหรือบุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่อยู่กินกัน ฉันสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ต่อมาบิดาได้รับรอง เช่น การแจ้งเกิด การให้ใช้นามสกุล การส่งเสียเลี้ยงดู หรือการแสดงเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปว่าเป็น บุตรของตน 3. บุตรบุญธรรมหรือการรับลูกคนอื่นมาเลี้ยงเสมือนเป็นลูกของตัวเอง โดยต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย เข้าใจภาษามรดกแล้ว คราวนี้การศึกษาหรือการแบ่งทรัพย์สินก็ทำได้ไม่ยากอีกต่อไป 

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445

**************************************


ทนายออนไลน์.com 099 464 4445

ทนายออนไลน์.com 099 464 4445

ทนายเตือนภัย เกี่ยวกับกฎหมายจราจร

  • ประสพภัยจากรถบนท้องถนน พรบ.คุ้มภัยช่วยคุณได้


ขอบคุณข้อมูลจากเพจรู้หมดกฎหมาย

www.ทนายภูวงษ์.com

คอลเซ็นเตอร์ทนายความ 099 464 4445

แชทกับทนายภูวงษ์: https://bit.ly/lawyerpoovong

01.เรื่องผู้ประสพภัยจากรถบนท้องถนน

     ประชาชนที่ใช้ชีวิตบนท้องถนนอาจไม่รู้สิทธิของตัวเอง ว่าเมื่อถึงคราวเคราะห์ร้ายประสบอุบัติเหตุจากรถต่างๆ ที่เข้ามาชนหรือทำให้ได้รับอันตราย ไม่ว่าความผิดจะเป็น ของฝ่ายใดก็สามารถขอรับเงินช่วยเหลือได้ อาทิ เบิกค่ารักษาพยาบาล หรือในกรณีเสียชีวิตก็จะมีค่าปลงศพ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นี่เป็นเหตุผลที่รัฐบังคับให้รถทุกคันทำประกันชนิดนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ชาวบ้าน

มีปัญหาปรึกษาทนายใกล้คุณ 099 464 4445 อยากปรึกษาหรือหาข้อมูลสู้คดีที่เวปไซต์นี้ www.ทนายภูวงษ์.com

**************************************

การตั้งค่าคุกกี้
ไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ในการท่องเว็บที่ดียิ่งขึ้น
คุณสามารถยอมรับคุกกี้ทั้งหมดหรือเลือกประเภทของคุกกี้ที่คุณยินดีอนุญาต
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
เลือกคุกกี้ที่คุณต้องการอนุญาตในขณะที่คุณเรียกดูเว็บไซต์นี้ โปรดทราบว่าคุกกี้บางตัวไม่สามารถปิดได้ เนื่องจากหากไม่มีคุกกี้ เว็บไซต์จะไม่ทำงาน
ความสำคัญ
เพื่อป้องกันสแปม ไซต์นี้ใช้ Google Recaptcha ในแบบฟอร์มการติดต่อ

ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้สำหรับอีคอมเมิร์ซและระบบการชำระเงินซึ่งจำเป็นสำหรับเว็บไซต์เพื่อให้ทำงานได้อย่างถูกต้อง
บริการของ Google
ไซต์นี้ใช้คุกกี้จาก Google เพื่อเข้าถึงข้อมูล เช่น หน้าที่คุณเยี่ยมชมและที่อยู่ IP ของคุณ บริการของ Google บนเว็บไซต์นี้อาจรวมถึง:

- Google Maps
- Google Font
ข้อมูล
ไซต์นี้อาจใช้คุกกี้เพื่อบันทึกพฤติกรรมของผู้เข้าชม ติดตามการแปลงโฆษณา และสร้างผู้ชม รวมถึงจาก:

- Google Analytics
- เครื่องมือวัด Conversion ของ Google Ads
- Facebook (Meta Pixel)